“challenge” ถ้าแปลแบบตรงตัว คือ การท้าทาย ซึ่งในระดับวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่มั่นใจว่ามีเรื่องให้ท้าทายกันเยอะอยู่แล้ว แต่ว่าถ้าเป็นเด็กๆเรื่องแบบนี้แทบจะไม่ค่อยมีให้เห็นสักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นก็ไม่แปลกที่ในต่างประเทศผู้ปกครองส่วนใหญ่นั้นจึงมีการฝึกให้เด็กได้ทำ challenge ของตัวเอง
แต่ในความหมายของการทำ challenge ที่ว่านั้น ก็เป็นเหมือนกับการสร้างความท้าทายอย่างนึงให้กับเด็กๆ แน่นอนว่าโทย์ก็คงจะไม่ยากท่ากับของผู้ใหญ่หรือโหดจัดเกินไป เพราะอย่างน้อยเมื่อเป็นเด็กการทำอะไรที่อยู่ในแรงกดดันมากไป อาจจะเป็นปัญหาที่ทำให้เด็กเครียดมากไป ซึ่งเอาเข้าจริงๆการทำแบบนี้ก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกัน เช่น
- ฝึกความความอดทน ด้วยความที่เด็กบางทีเติบโตจากการที่ผู้ปกครองเตรียมพร้อมเอาไว้ให้ทุกอย่าง สุดท้ายอาจจะไม่เคยรู้เลยว่าความอดทนในการทำอะไรสักอย่างเป็นอย่างไร แต่เมื่อเด็กเริ่มทำตามการท้าทายเหล่านี้ก็จะทำให้เด็กนั้นกลายเป็นคนที่มีความอดทน เนื่องจากในการทำแต่ละชาเลนจ์จะใช้ระยะเวลาพอสมควร
- พัฒนาทักษะให้มากขึ้น ความเข้าใจบางอย่างของผู้ปกครอง คือ แค่เด็กมีทักษะไม่ได้ถือว่าเก่ง จนกว่าทักษะที่มีอยู่นั้นจะกลายเป็นสิ่งที่สามารถทำได้จนคล่องและเก่ง จึงไม่แปลกสักเท่าไหร่ถ้าผู้ปกครองเลือกที่จะใช้การทำชาเลนจ์ช่วยให้เด็กมีความถนัดกับทักษะเหล่านั้นมากขึ้น และจะเรียกว่าแข็งแกร่งในทักษะก็ว่าได้
- ฝึกนิสัยเข้าสังคม บางอย่างที่สามารถเอามาใช้เป็นการท้าทายได้ ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของการทำเรื่องของการเข้าสังคม ยิ่งถ้าฝึกได้มาก จากในตอนแรกๆที่ทำแบบขอไปทีแต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เด็กฝึกจนกลายเป็นนิสัย เมื่อมีเหตุการณ์ที่เข้าไปในสังคมจริงๆ สุดท้ายแล้วก็สามารถจะเข้าได้แบไม่มีปัญหา
เอาเข้าจริงๆแล้วประโยชน์ยังมีมากกว่านี้อีกด้วยซ้ำไป ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์กับสิ่งที่ต้องการอยากจะให้เด็กๆได้ทำเพื่อที่จะใช้ในการพัฒนาตัวเอง และถามจะถามว่ามีตัวอย่างของชาเลนจ์แบบไหนบ้างที่เหมาะกับเด็ก บอกเลยว่ามีเยอะอยู่งั้นของยกตัวอย่างเพียงแค่บางส่วนให้เด็กไทยได้ลองทำ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
ไม่พูดจาไม่ดีกับคนรอบข้าง
สำหรับชาเลนจ์นี้บอกเลยว่าอาจจะดูเหมือนง่าย แต่ในความหมายคือการที่เด็กจะต้องรู้จักเก็บอารมณ์ทั้งหมดเอาไว้ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ หรือแม้แต่กระทั่งไม่ชอบก็จะต้องเก็บไว้ให้มิด และเวลาที่จะต้องพูดคุยก็ควรพูดให้ดี โดยอาจจะมีการกำหนดไว้เป็นระยะเวลา 1 เดือนแล้วหลังจากนั้นก็ค่อยมาลองสรุปผลดูว่าจะเป็นอย่างไร ข้อดีและความรู้สึก
ฝึกเล่นดนตรี
เป็นหนึ่งช่องทางในการที่จะทำให้เด็กสามารถที่จะง่ายต่อเรื่องของการเล่นดนตรี โดยเน้นกำหนดระยะเวลาเอาไว้ 1-3 เดือน โดยเลือกมาแค่ 1 ครื่องดนตรีเท่านั้น แต่ในทุกๆวันที่มีการฝึกเล่นจะต้องมีการจดบันทึกว่าความรู้สึกและการพัฒนาเป็นอย่างไรบ้าง และมีความมุ่งหวังเป็นแบบไหน ซึ่งถ้าครบระยะเวลาแล้วมาลองย้อนอ่านดู อาจจะเห็นถึงการพัฒนาแบบชัดเจนมากขึ้น
จำกัดเวลาการเล่นโซเชียล
ผู้ปกครองบางกลุ่มอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ควรจะต้องทำอยู่แล้ว แต่จะว่าไปแล้วสำหรับบางกลุ่มที่พลาดไปแล้วก็อาจจะกำลังมองหาวิธีอยู่ เพราะฉะนั้นแล้วเริ่มจากการจำกัดจำนวนระยะเวลาที่สามารถเล่นได้ลงไปทีละส่วนแล้วให้เด็กทำได้ไปเรื่อยๆ อาจจะมีกำหนดไว้แค่ 3 เดือน เพียงเท่านี้ก็จะมองเห็นแล้วว่าเด็กสามารถที่จะทำได้มากน้อยแค่ไหน
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีในการทำ challenge ที่ง่ายที่สุดที่น่าจะได้รับรู้ถึงความสามารถในการท้าทายของตัวเองมากขึ้น และสำหรับเรื่องแบบนี้จะช่วยให้เด็กสามารถที่จะไต่ระดับความสามารถของเด็กที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีกด้วย