ความสำเร็จ อ่านความสำเร็จของลูกหลานเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ในบ้านให้ความสำคัญ แต่ต้องรู้ไว้ว่าบางครั้งการฝึกเพื่อเป็นการสร้างนิสัยเคยชินให้เด็กประสบความสำเร็จในอนาคต คงเป็นเรื่องของการฝึกฝนตั้งแต่เด็กๆที่เริ่มจะเรียนรู้และค่อยๆจดจำสิ่งต่างๆ และจริงๆแล้ววิธีการก็มีหลายวิธีที่เริ่มให้เด็กๆ
1.ทรัพยากรส่วนตัว
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสอนให้เด็กๆได้รู้จักกับทรัพยากรส่วนตัวของตัวเองที่มีอยู่ และถ้าจะเอาในมุมที่สามารถสอนแล้วเด็กสามารถที่จะเข้าใจได้เกี่ยวกับเรื่องของทรัพยากรส่วนตัว คงเริ่มจากเวลา สุขภาพ เงิน ทั้ง 3 สิ่งนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่ต้องไปแสวงหาแต่มีอยู่แล้วกับตัว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องรู้จักกันให้ดีโดยเริ่มจากการใช้เงินอย่างประหยัดในแต่ละวัน ไม่ใช่แค่นั้นแต่เด็กๆก็จำเป็นจะต้องรู้ว่าเวลาในแต่ละวันมีค่า ควรที่จะมีตารางในการทำกิจกรรมดีๆให้กับเด็ก เพื่อเป็นการส่งเสริม
2.เน้นการสื่อสาร
ในวัยเด็กอาจจะดูเหมือนว่าจะไม่จำเป็น แต่ในตอนโตต้องเข้าใจด้วยว่า แม้ว่าการทำงานกลุ่มที่ทำงานที่โรงเรียนก็จำเป็นต่อเรื่องการสื่อสารแล้ว แต่ถ้ามองในมุมของการทำธุรกิจ บอกได้เลยว่าการสื่อสารเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก แต่ทั้งนี้ในเรื่องของการสื่อสารบอกเลยว่าในการสื่อสารนอกจากการมองรวมถึงการตั้งใจฟัง แต่ก็จะต้องพยายามทั้งเรื่องของการทำความเข้าใจและพยายามสานต่อประโยคมากขึ้น
3.รู้จักสังคม
อย่างน้อยๆเพื่อที่จะทำให้เด็กสามารถที่จะเข้าสังคมแล้วสามารถที่จะสร้างเครือข่ายไว้ช่วยเหลือในเรื่องของการทำงานได้อย่างประสบความสำเร็จ ก็คงจะเป็นเรื่องของการที่สอนให้รู้จักให้อภัย และสอนที่จะให้ช่วยเหลือคนอื่นๆที่กำลังต้องการ หรือในเวลาที่ต้องการ แต่อย่างน้อยสิ่งที่จำเป็นคือการสอนให้เด็กนั้นรู้จักที่จะเห็นใจผู้อื่นๆที่อยู่รอบข้าง
แต่อย่างน้อยในเบื้องต้นสิ่งเหล่านี้นั้นอาจจะดูไม่จำเป็นสักเท่าไหร่ แต่นิสัยบางอย่างถ้าหากมีการฝึกอยู่บ่อยๆจนเกิความเคยชิน เมื่อถึงสถานการณ์หรือเหตุการณ์ขับขันก็สามารถที่จะดึงนิสัยเหล่านี้ออกมาใช้ได้อย่างงเหมาะสม
เราต่างรู้กันดีว่าการฝึกฝนนิสัยนิสัยสำหรับการเข้าสังคมให้กับเด็ก เหมือนกับการจับปูใส่กระด้งที่ถือว่าเป็นเรื่องยากมากทีเดียว แต่ถ้าหากรู้จักเทคนิคเล็กน้อยเพียงแค่ใช้เกมหรือการประยุกต์เอากิจกรรมต่างๆเข้ามาเป็นตัวช่วย จะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้การตีความรวมถึงนิสัยเหล่านี้ได้ละเอียดมากขึ้น
แต่ควรจะหลีกเลี่ยงการบ่นการดุเพราะจะเป็นการทำให้เด็กรู้สึกไม่สนุกและกลัวที่จะทำอะไรผิด รวมถึงไม่ยอมที่จะทำอะไรใหม่ๆอีก